น้ำตกพลิ้ว (อุทยานแห่งชาติ จ.จันทรบุรี)

จะว่าไป เราก็ไปเขาคิชกูฎมาถึงสองครั้ง ดันไม่เคยรับรู้ว่าที่จันทรบุรี มีน้ำตกพลิ้วมาก่อน จนเพื่อนคนนึงได้โพสรูปของเขาท่ามกลางฝูงปลา ดูตื่นเต้นมาก เพราะว่าเจ้าฝูงปลาที่รายล้อมเพื่อนในภาพนั้น มีลักษณะคล้ายลูกๆปลาฉลาม และ มันดูเยอะมาก จากนั้น เราก็ติดตามถามเพื่อนว่าไปไหนมา ปลาเยอะจริงไหม? จนได้ความว่า เพื่อนก็ไปเขาคิชกูฎมาแล้วแว่ะน้ำตกพลิ้ว ที่ที่มีปลาพลวงจำนวนมาก ตายละ เราไปมาสองครั้ง ไม่เคยรู้เลยว่า จันทรบุรีมีน้ำตกและมีปลาแบบนี้ด้วย

Plew Waterfall in English version?

จนครบรอบปีที่เขาคิชกูฎเปิดให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามากราบสักการะพระพุทธบาทพลวงอีก ตอนแรกเพื่อนๆจำนวนมากเรียกร้องที่จะจัดกลุ่มมากัน แต่พอจะรวมๆ กันจริงๆและนัดวัน เตรียมห้องพักเรียบร้อย ปรากฎว่าเหลือกันอยู่ 4 คน ทริปนี้จึงขับรถไปกันเอง โดย จากกรุงเทพฯ ใช้เวลาขับไปจังหวัดจันทรบุรี ก็ประมาณ เกือบๆ 3ชั่วโมง โดยเราตรงดิ่งไปน้ำตกพลิ้วเลยค่ะ ซึ่งน้ำตกพลิ้วก็อยู่ไม่ห่างไปจากตัวเมืองจันทรบุรี (ประมาณ 14 กม) การเดินทางก็สะดวก ถนนหนทางก็ดี
หากขับรถไปเองมีป้ายบอกไปตลอดทาง แต่โชคดีพวกเรามี GPS ก็ขับตามพิกัดไปเรื่อยๆ (12.527963, 102.179117)แต่อย่างที่บอกค่ะ หาไม่ยาก

น้ำตกพลิ้ว ตั้งอยู่ในอุทยานแห่งชาติ มีเจ้าหน้าที่คอยดูแลและอำนวยความสะดวกตลอดเวลา เปิดให้บริการทุกวัน ในเวลา6โมงเช้า ถึง 6โมงเย็น และมีค่าบริการ เด็กคนละ 20บาท และผู้ใหญ่ 40 บาท (สำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ เด็กคนละ 100บาท และ ผู้ใหญ่ท่านละ 200 บาท)

ที่นี่มีที่จอดรถกว้างขวาง แต่ให้จอดไว้ด้านนอก โดยนักท่องเที่ยวต้องเดินเข้าไปอีกนิด รู้สึกว่าจะมีรถสองแถวของอุทยานฯให้บริการ

แต่พวกเราเดินกันเล่นๆ ก็สนุกดี เพราะว่ามีของขายตลอดทาง โดยเฉพาะ ถั่วฝักยาว เพราะเขาบอกว่า ปลาพลวงที่นี่ชอบกินถั่วฝักยาว

สนนราคาถั่วฝักยาวที่นี่ มีขายตั้งแต่กำละ 10บาทขึ้นไป พวกเราซื้อเยอะมาก ตอนแรกนึกว่าจะเยอะไป แต่พอเข้าไปข้างใน ปรากฎว่ามีปลาพลวงจำนวนเยอะกว่า!

รูปปั้นปลาพลวงขนาดใหญ่ ปลาพลวง หรือ ปลาพลวงหิน (Soro brook crap) หรือ ปลามุง เป็นปลาที่มีอยู่เดิมธรรมชาติ ไม่ได้มาใครเอามาปล่อยนะคะ โดยพบกว่าจะมีอยู่ทัวไปตามลำธารน้ำตก บนภูเขา เมื่อโตเต็มที่อาจจะมีขนาดและความยาวถึง 50ซม เป็นปลากินพืช ผัก ผลไม้และเป็นปลาที่มีความปราดเปรียว และไม่ดุร้าย

คือ มันไม่ดุร้ายค่ะ แต่ด้วยความที่มีจำนวนมาก อาจจะโดยรุมได้!!!

นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มาเที่ยวน้ำตกพลิ้ว เพราะได้เล่นและให้อาหารปลาพลวง ส่วนน้ำตกพลิ้วนั้นจะต้องเดินเข้าไปอีกค่ะ

เดินเข้ามาเขตด้านใน เจ้าหน้าที่เขาจะขอให้แกะเอาหนังยางวงออกจากถั่วฝักยาวด้วย เป็นการช่วยลดอันตรายให้กับเหล่าปลาพลวงที่อาจเผลอกินหนังยางเข้าไป แล้วท้องอืดตายค่ะ

โซนด้านในที่จะเข้าไปน้ำตกนี้ ไม่อนุญาติให้นำอาหารเข้ามานะคะ ก็ดีค่ะ เป็นการลดปริมาณขยะและเศษอาหาร ชอบจริงๆ เลย น่าชื่มชม ทั้งระบบความรักษาความสะอาดก็เลิศ แถมระบบความปลอดภัยที่นี่ดีมากๆ แม้กระทั่งตรงน้ำตกก็ยังมีเจ้าหน้าที่คอยนั่งดูแลให้ความปลอดภัย อุปกรณ์ก็พร้อมทั้งหวงยาง เชือกฯลฯ แถมคอยดูนักท่องเที่ยวที่ไม่สุภาพอีกด้วย

“น้ำตกพลิ้ว” ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นน้ำตกที่มีความสวยงามตามธรรมชาติ มีน้ำตกตลอดปีค่ะ

นอกจากจะได้ชื่นชมกับธรรมชาติ ในบริเวณของอุทยานฯ ยังมีสถานที่สำคัญ เช่น อลงกรณ์เจดีย์ และ พีระมิดพระนางเรือล่ม

อลงกรณ์เจดีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วย พระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวีอัครมเหสี ได้โปรดปรานให้สร้างเจดีย์ทำด้วยศิลาแลงขึ้น ที่บริเวณหน้าผาด้านหน้า น้ำตกพลิ้ว เมื่อ พ.ศ. 2419 เพื่อเป็นที่ระลึกในการเสด็จประพาส น้ำตกพลิ้ว ด้วยกัน และพระราชทานนามว่า “อลงกรณ์เจดีย์” พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรด น้ำตกพลิ้ว เป็นอย่างยิ่ง และได้เสด็จประพาสหลายคราว โปรดมาก ถึงกับมีพระราชดำรัสว่า “เราได้เห็นน้ำตกอย่างนี้มาสองสามแห่ง คือที่ปีนัง เกาะช้าง และสีพยา เห็นไม่มีที่ไหนจะงามกว่าที่นี่เลย ถ้าจะให้เรานั่งดูอยู่ยังค่ำก็แทบจะได้ด้วยเย็นสบายจริง”

ส่วน พีระมิดพระนางเรือล่ม (สุนันทานุสาวรีย์) สถูปพระนางเรือล่ม อยู่ในบริเวณ น้ำตกพลิ้ว สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2424) เพื่อเป็นที่ระลึกแก่สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี

สำหรับพวกเรา นับว่าทริปนี้เป็นทริปที่ลงตัวที่สุดเพราะนอกจากได้มาไหว้ขอพรพระบาทพลวงที่เขาคิชกูชแล้ว ยังได้แว่ะมาพักผ่อนหย่อนใจที่น้ำตกพลิ้ว ได้สนุกสนานกับการป้อนถั่วให้เหล่าปลาพลวง รับรองว่าทริปนี้เหมาะกับทุกเพศทุกวัยค่ะ แว่ะมาจันทรบุรีครั้งใด อย่าลืมแว่ะไปน้ำตกพลิ้วนะคะ

เดินทางเมื่อวันที่ 15-16 มีนาคม 2556

About Jam

I'm Jam, the blogger, and illustrator of this website. I live in Bangkok, Thailand and Louisiana, USA when I'm not travelling.

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *